ประชาธิปไตย

รูปแบบของประชาธิปไตยมี 2 แบบ คือ
1.      ประชาธิปไตยทางตรง หมายถึง การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง โดยใช้อำนาจอธิปไตยด้วยตนเอง
2.      ประชาธิปไตยทางอ้อม หมายถึง การที่ประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตยแทนตน
ลักษณะสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

1. แบบประธานาธิบดี

1. ประธานาธิบดีได้รับเลือกมาจากประชาชนเป็นทั้งประมุขของประเทศและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
2. แยกอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ มีอิสระออกจากกันโดยเด็ดขาด
3. ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งรัฐมนตรีร่วมคณะได้อย่างอิสระ
4. ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจในการยุบสภา รัฐสภาไม่มีอำนาจลงมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร
5. รัฐสภาทำหน้าที่ออกกฎหมายและอนุมัติงบประมาณแผ่นดิน
6. ประธานาธิบดีแต่งตั้งผู้พิพากษาสูงสุดโดยรัฐสภายินยอม ประเทศที่ใช้การปกครองแบบประธานาธิบดี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เป็นต้น

2. แบบรัฐสภา

1. ตำแหน่งของประมุขของประเทศอาจเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี
2. นายกรัฐมนตรีบริหารประเทศภายใต้การควบคุมของรัฐสภา หากรัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรี ต้องลาออกทั้งคณะหรือเป็นรายบุคคล
3. นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการยุบสภาได้หากเกิดความขัดแย้ง
4. รูปแบบการปกครองไม่แยกอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและตุลาการ ประเทศที่ใช้รูปแบบรัฐสภา ได้แก่ ไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น สเปน เป็นต้น

3. แบบกึ่งประธานาธิบดีและกึ่งรัฐสภา

1. ประธานาธิบดีจะเป็นผู้บริหารประเทศร่วมกันนายกรัฐมนตรี
2. ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งและเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี โดยได้รับความยินยอม จากรัฐสภา
3. ถ้ารัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีต้องลาออก แต่ประธานาธิบดีไม่ต้องลาออก
4. ประธานาธิบดีมีสิทธิยุบสภาได้ ประเทศที่ใช้รูปแบบการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีและกึ่งรัฐสภา ได้แก่ ฝรั่งเศส โปรตุเกส เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น